วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556

เห็ดหลินจือ


คนโบราณจะหาตามป่าตามเขาที่ขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อนำมาเป็นอาหารบำรุงและบำบัดโรค เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันโรค เป็นยาอายุวัฒนะ ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เกิดความสมดุลย์ตามธรรมชาติ โดยเฉพาะระบบทั้ง 3 ของร่างกาย ได้แก่
* ระบบางเดินอาหาร โรคกระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ ทางเดินอาหารอักเสบ ทางเดินอาหารอักเสบเรื้อรัง อาหารเป็นพิษ สารพิษตกค้าง ร่างกายมีกรด เบื่ออาหาร ท้องผูก ริดสีดวงทวาร

* ระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง ไข้หวัด หอบหืด ภูมิแพ้ อาการไอ ริดสีดวงจมูก

* ระบบไหลเวียนของโลหิต โรคที่เกิดจากการมีคอลเลสเตอรอลในเลือดสูง เส้นเลือดอุดตัน หลอดเลือดแข็งตัว ความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตต่ำ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และรอบเดือนไม่ปกติของสตรี โรคอื่น ๆ เช่น โรคมะเร็ง โรคตับอักเสบ โรคไตอักเสบ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคประสาท โรคปวดหัวข้างเดียว (ไมเกรน) นอนไม่หลับ โรคเครียด ลมบ้าหมู สิว ฝี ผิวแตกมีน้ำเหลืองเป็นแผลภายใน ภายนอก โรคเกาท์ อัมพฤกษ์ อัมพาตและภาวะที่มีบุตรยาก
การรับประทานหลินจือ
   สำหรับผู้ที่รับประทานเห็ดหลินจือใหม่ ๆ นั้น อาจจะรู้สึกมึนศรีษะ ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ ง่วงนอน ผิวหนังเกิดอาการคัน อาเจียร อาการคล้ายท้องเสีย ท้องผูก มีปัสสาวะบ่อย หรือจะมีผลลักษณะอาการของโรคนั้น ๆ ถือเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ อันเป็นเรื่อง ปกติของการบำบัด ด้วยยาสมุนไพรแผนโบราณ เนื่องจากเมื่อตัวยาได้เริ่มเข้าไปบำบัดนั้น จะเข้าไปชะล้างสิ่งที่เป็นพิษ

ในร่างกายให้สลายหรือเคลื่อนย้ายขับสารพิษ ออกจากร่างกาย จึงทำให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติดังกล่าว ซึ่งเป็นสัญญาณ ว่าร่างกายกำลังฟื้นตัว ไม่ใช่ผลข้างเคียง ดังเช่น สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เมื่อรับประทานหลินจือแล้วอาจจะมีการ ขับถ่ายน้ำตาล ออกมามากผิดปกติ ส่วนผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์อาจเกิดอาการเจ็บปวดมากขึ้น โรคไต หรือผู้ป่วยที่ต้อง ล้างไต จะปวดเมื่อยตามข้อ เท้าจะบวม ร่างกายอ่อนเพลีย ซึ่งอาการเช่นนี้จะเกิดขึ้นระยะเวลาสั้น ๆ เพียง 2-3 วัน หรือประมาณ 1 อาทิตย์ ก็จะกลับสู่สภาพปกติ แล้วแต่สภาพร่างกาย อันแตกต่างกัน ของแต่ละคน ไม่ต้องตกใจ ให้รับประทานหลินจือต่อไป อย่าหยุด หากมีผลทางอาการมาก ให้ลด จำนวนแคปซูลลง  เมื่อมีอาการปกติ ให้รับประทานตามคำแนะนำต่อไป สำหรับผู้ป่วยที่กำลัง รับประทานยารักษาที่แพทย์สั่ง ก็สามารถรับประทานหลินจือควบคู่ไปได้


  เป็นการเสริมรักษาหรือร่วมรักษา นอกจากจะไม่เกิดอาการต่อต้านขึ้นแล้ว ยังช่วยขจัดผลข้างเคียง อันเกิดจากยาแผนปัจจุบัน และช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพในการชักนำยาดังกล่าว ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ดียิ่งขึ้น
   การที่จะทราบว่าจะรับประทานได้มากน้อยเพียงใด ต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ของโรคและสภาพร่างกายของแต่ละคนจะ ไม่เหมือนกัน เช่น บางคนจะรับประทาน 3 ชุดต่อวัน ก็สามารถบำบัดโรคได้อย่างเห็นได้ชัด แต่สภาพร่างกายของบางคน ต้องรับประทานเพิ่มเป็น 4 ชุด หรือ 5 ชุด หรือ 6 ชุดต่อวัน การบำบัดโรคจะเห็นได้ชัด
* ผู้ป่วยเป็นโรคหืดหอบ โรคหัวใจ โรความดัน โรคเบาหวาน และโรคกระเพาะ รับประทานหลังอาหาร 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง หลังจาก 2 สัปดาห์ เมื่อร่างกายปรับตัวได้แล้ว ให้รับประทานก่อนอาหาร เหมือนผู้ป่วยโรคอื่น ๆ
* โรคอื่น ๆ รับประทานก่อนอาหาร 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง
* ผู้ป่วยเป็นโรคริดสีดวงทวาร แผลเน่าเปื่อยจากโรคเบาหวานและโรคมะเร็งที่ผิวหนัง เมื่อรับประทาน หลินจือตามคำแนะนำแล้ว ให้นำผง อาร์จี คือ ส่วนดอกของ "หลินจือ" ออกจากแคปซูล นำไปโรยที่ แผลอักเสบของรูทวารหนัก และบริเวณที่เป็นแผลอักเสบอื่น ๆ สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรับประทาน ยารักษาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรละทิ้งยาจากแพทย์กระทันหัน ให้ไปรับประทานหลินจือควบคู่กันไป
* การรับประทานหลินจือในอาทิตย์แรก จะมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับเกิดขึ้น เช่น มึนศรีษะ ปวดเมื่อย ปวดตามข้อ ผิวหนังเกิดอาการคัน อาเจียร อาการคล้ายท้องเสีย ท้องผูก มีปัสสาวะบ่อย หรือลักษณะ ของโรคนั้น ๆ ผู้ป่วยไม่ควรกังวล ให้รับประทานหลินจือตามคำแนะนำต่อไป หากมีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ ของโรคมาก ให้ลดจำนวนแคปซูลรับประทานลงมา บางรายจะไม่เกิดปฏิกิริยาสะท้านกลับของโรคเลย
* สำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงดูแลสุขภาพ ของตัวเองเพื่ออายุวัฒนะ ให้รับประทาน 1 ถึง 4 ชุด ตามตารางข้างต้นติดต่อกันตลอดไป ก็จะได้รับผลดังกล่าว

 เห็ดหลินจือ สมุนไพรหมื่นปี
โอสถทิพย์ จาก สรวงสวรรค์
ในบรรดาพืชสมุนไพรที่มีอยู่อย่างมากมาย กระจัดกระจายทั่วทุกภูมิภาค ดูเหมือนชื่อของ เห็ดหลินจือ เห็ดสมุนไพรเจ้าของฉายา "เห็ดหลินจือหมื่นปี"
จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นส่วนผสมในการปรุงยามากเป็นอันดับหนึ่ง
ประวัติความเป็นมาและคุณค่าของเห็ดหลินจือเป็นเช่นไร ขอให้พิจารณาดูข้อมูลประกอบดังต่อไปนี้ก่อน
* ปี ค.ศ. 317 ชื่อของเห็ดหลินจือปรากฎในคัมภีร์จีนโบราณ กล่าวถึงยาเทวดาชนิดหนึ่งซึ่งขี้นบนยอดเขาสูง ใต้ไม่ใหญ่ หรือข้างลำธาร มีรูปร่างเหมือนดั่งห้องหับในพระราชวัง รถม้า หรือเสือมังกร เมื่อนำไปทำให้แห้งแล้วรับประทานจะทำให้กลายเป็นเทวดาหรือ "เซียน" ได้ แม้แต่ชนิดของลงไปก็ยังสามารถทำให้อายุยืนได้ถึงพันปี
* ปี ค.ศ. 1115 สมัยราชวงศ์ซ่ง คัมภีร์ไทผิงเซิ่นอุ้ยฟัง ได้กล่าวถึงตำรับยาจากเห็ดหลินจือไว้ 2 ขนาน คือ ยาเม็ดจื่อจือ ใช้รักษาอาการอ่อนเพลีย มือ-เท้าเย็น ปวดข้อ ทำให้สดชื่น ผิวหนังเปล่งปลั่ง รวมทั้งตำรับยาเซิ่นตานฟัง ซึ่งมีฐานะเป็นยาเทวดา
* ปี ค.ศ. 1578 หลี่สือเจิน ปรมาจารย์ด้านการแพทย์แผนจีนแห่งราชวงศ์หมิง ย้ายเห็ดหลินจือจากประเภทหญ้าซึ่งเป็นยา มาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพและประเภทผัก พร้อมทั้งแนะนำว่า การรับประทานเห็ดหลินจือ
เป็นประจำจะทำให้ตัวเบา ไม่แก่ชราตามอายุ และจะกลายเป็นเซียนหรือเทวดาได้ อีกทั้งยังมีคำพังเพยยุคนั้นที่กล่าวไว้ว่า "จอมจักรพรรดิที่มีความเมตตาปราณี สวรรค์จะส่งเห็ดหลินจือมาเป็นเครื่องกำนัล"
* ปัจจุบัน ยังคงมีคำร่ำลือถึงสรรพคุณการเป็นยาอายุวัฒนะ ยกย่องให้เป็นเห็ดศักดิ์สิทธิ์ สามารถบำบัดรักษาโรคได้นานาชนิด ผู้รู้บางท่านถึงขนาดเปรียบเปรยคุณค่าของเห็นหลินจือให้ฟังว่า "หากคนไทยยกย่องช้างเผือกเป็นสิ่งล้ำค่า ถ้าพบเจอเมื่อใดก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าถวายองค์พระมหากษัตริย์แล้วไซร้ ชาวจีนก็เฉกเช่นกัน เมื่อมีเห็ดหลินจือไว้ในครอบครองก็ต้องนำขึ้นทูลเกล้าถวายองค์ฮ่องเต้" แม้แต่รูปปั้นกังใสหรือเทพเจ้า "ฮก ลก ซิ่ว" ซึ่งมีความหมายบ่งบอกถึงความเป็นสิริมงคลก็ยังมีเทพเจ้าบางองค์ถือเห็ดหลินจืออยู่ในมือ
ข้อความข้างต้น อาจถูกใครหลายคนประเมิณเป็นเพียงตำนานเก่าแก่ที่กล่าวยกย่องสรรพคุณเห็ดหลินจือสมุนไพร โบราณกันจนเกินจริงแต่เชื่อหรือไม่ว่าในโลกแห่งความจริงยุคปัจจุบัน คุณค่าของเห็ดหลินจือก็แทบไม่แตกต่างไปจากที่กล่าวขานกันมาแต่โบร่ำโบราณเลย เมื่อมีผลงานการทดลองทางวิทยาศาสตร์มากมายให้การยืนยันยอมรับในคุณค่าความมหัศจรรย์แห่งการบำบัดรักษาโรคด้วย "เห็ดหมื่นปี" ชนิดนี้
ตามรอยเห็ดหลินจือ
จากประวัติศาสตร์อันยาวนาน เห็ดหลินจือเป็นยาจีน (Chinese Traditional Medicine) ที่ได้รับการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ (กว่า 2,000 ปี ล่วงมาแล้ว) นับเป็นของหายากและมีคุณค่าสูงล้ำในยุคนั้น เนื่องจากสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง ไร้สารพิษใดๆ มีความปลอดภัยสูง สามารถรับประทานต่อเนื่องได้ในระยะยาว
แม้แต่ "เสินหลงเปิ่นเฉ่า" คัมภีร์ด้านการแพทย์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์และคงความเก่าแก่ที่สุดของจีน ซึ่งรวบรวมตัวยาไว้ถึง 365 ชนิด ก็ยังยกให้เห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรชั้นสูง อยู่เหนือสมุนไพรจีนด้วยกัน อีกทั้งยังกล่าวว่าเป็น "เทพเจ้าแห่งชีวิต" มีพลังมหัศจรรย์ในการบำรุงร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง มีความทรงจำที่ดี ประสาทสัมผัสชัดเจนขึ้น บำรุงการไหลเวียนของโลหิต ผิวพรรณ เปล่งปลั่ง สีหน้าแจ่มใส และช่วยชะลอความชรา
ส่วนสรรพคุณอื่นๆ ซึ่งได้มีการเก็บรวบรวมไว้ในปัจจุบันได้แก่ การรักษาและต้านทานการเกิดมะเร็ง ตับแข็ง ตับอักเสบ บำรุงไต ขับปัสสาวะ ปรับความดันโลหิต (ทั้งสูงและต่ำ) แก้ปัญหาภาวะการมีบุตรยาก การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โรคภูมิแพ้ โรคประสาทลมบ้าหมู เส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นเลือดอุดตันในสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต ปวดข้อ ปวดประจำเดือน ริดสีดวงทวาร อาหารเป็นพิษโรคเอสแอลอี บำรุงสายตา ฯลฯ
ปัจจุบัน นับได้ว่าเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่มีรายงานการวิจัยและผลการทดลองทางวิทยาศาสตร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง และมีเป็นจำนวนมากติดอันดับต้นๆ ของโลก โดยมีสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมและให้สรรพคุณทางยาสูง คือ กาโนเดอร์มา ลูซิดัม (Ganoderma lucidum)
...อาจกล่าวได้ว่าพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการปรุงยามากที่สุด ก็คือสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ (อันได้แก่สิ่งมีชีวิตเล็กกระจิริดอย่างเห็ดรา) นามว่าเห็ดหลินจือชนิดนี้นั่นเอง
เห็ดหลินจือในเมืองไทย
ข้อมูลจากการสำรวจผืนป่าได้เปิดเผยให้ทราบว่า พื้นที่ป่าหลายแห่งของไทยต่างก็มีเห็ดหลินจือหลายสายพันธุ์เติบโตงอกงามอยู่ด้วย หรือแม้แต่ในแหล่งชุมชนอันมีผู้คนอยู่อาศัย ก็สามารถพบเเห็ดหลินจือชนิดนี้ปรากฎกายอยู่ได้เช่นกัน
เห็ดหลินจือ (Lingzhi) คือ ชื่อที่ชาวไทยใช้เรียกเห็ดหลินจือชนิดนี้ (เห็ดหลินจือหรือลิงชิในจีน, มันเน็นทาเกะในญี่ปุ่น, แลกเคอร์เรดมัชรูมหรือโฮลี่มัชรูมในอังกฤษ) พร้อมมองสมญานามให้ว่าเห็ดหมื่นปีหรือเห็ดอมตะจากโครงสร้างของดอกเห็ดซึ่งแห้งและแข็งเหมือนไม้ ทำให้คงสภาพเดิมอยู่ได้นานนับชั่วชีวิตคน ผนวกกับคำว่าหมื่นปีเป็นคำมงคล สอดคล้องกับสรรพคุณการเป็นยาอายุวัฒนะ โดยมิได้สื่อความหมายว่าเห็ดหมื่นปีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินี้ จะมีอายุยาวนานถึงหมื่นปีแต่อย่างใด
ตำนานการใช้เห็ดหลินจือในไทยมีการกล่าวถึงอยู่บ้างเช่นกัน แม้จะมิได้เก็บรวมรวมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่จากการลาดตระเวนสำรวจพันธุ์เห็ดหลินจือและสอบถามข้อมูลจากชาวบ้านหลากหลายพื้นที่ พบว่ามีการใช้เห็ดหลินจือชนิดนี้ในการบรรเทารักษา อาการหวัด ป้องกันฝ้า แก้พิษงู เห็ดพิษ แมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงกำลัง แก้ปวดหลัง รวมทั้งใช้รักษาโรคภายในที่คาดว่าจะเป็นเนื้องอกและมะเร็งมาเนิ่นนานแล้ว
เหตุใดจึงรักษาได้หลายโรค
อาจารย์มงคลศิลป์ บุญเย็น ผู้อำนวยการมูลนิธิการแพทย์ทางเลือกเพื่อมะเร็งบอกเล่าถึงความสำคัญของเห็ดหลินจือให้ฟังว่า "เห็ดหลินจือถือเป็นสมุนไพรหลัก เรียกได้ว่าเป็น "หัวหน้ายา" ของผมเลยทีเดียว ใช้บำรุงร่างกายและรักษาโรคร้ายได้แทบทุกชนิด แม้แต่โรคที่ไม่อาจใช้เห็ดหลินจือรักษาได้โดยตรง เมื่อนำมาใช้เป็นตัวเสริมเพิ่มเข้าไปในสูตรยาเฉพาะทาง ก็สามารถช่วยให้หายจากอาการป่วยได้เร็วขึ้น"
"เหตุใดเห็ดหลินจือจึงรักษาได้หลายโรค" คำถามสั้นๆ ข้างต้น เป็นคำถามสำคัญที่พบได้บ่อยที่สุดคำถามหนึ่งเลยทีเดียว ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ดูให้ดีจะพบว่าสามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
"แผนปัจจุบัน ยาแต่ละเม็ดมียาอยู่เพียงตัวเดียวจึงรักษาได้เพียงโรคเดียว ขณะที่สมุนไพรมีสารออกฤทธิ์หลายสิบชนิด จึงไม่แปลกที่สมุนไพรสามารถรักษาได้หลายโรค" นายแพทย์บรรเจิด ตันติวิท แพทย์แผนปัจจุบันผู้เขียนหนังสือ "เห็ดหลินจือกับข้าพเจ้า" กล่าว
เมื่อนักวิทยาศาสตร์ตัดสินใจนำสารสกัดจากเห็ดหลินจือไปค้นคว้า สิ่งที่พบก็คือ สรรพคุณทางยาอันหลากหลายที่อัดแน่นอยู่ในอณูเนื้อของเห็ดหมื่นปีชนิดนี้ สารบางอย่างออกฤทธิ์โดยตรงระบบคุ้มกัน บางอย่างกระตุ้นการทำงานของร่างกาย ปรับสมดุลให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ สารบางอย่างทำหน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำลายเซลล์มะเร็ง และยังมีอีกหลายอย่างที่สารสกัดจากเห็ดหลินจือทำได้
คำกล่าวที่ว่า เห็ดหลินจือรักษาได้หลายโรค จึงไม่ใช่เรื่องอวดอ้างเกินจริงแต่อย่างใด
"โอสถสาร"
สารออกฤทธิ์ สำคัญทางยา
เป็นเวลาเนิ่นนานหลายสิบปีมาแล้วที่ทีมแพทย์และคณะวิจัยของประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฯลฯ ได้ศึกษาค้นคว้าหาสาเหตุแห่งการออกฤทธิ์และสรรพคุณทางยาจากเห็ดหลินจือ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1958 อาจกล่าวได้ว่าญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่เผยแพร่รายงานการค้นพบ "โอสถสาร" หรือสารออกฤทธิ์สำคัญทางยาที่สำคัญของหลินจือ ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีอยู่มากมายถึง 150 ชนิดเลยทีเดียว
เราสามารถจำแนกสารออกฤทธิ์ดังกล่าวได้เป็น 5 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ (การจำแนกอาจเปลี่ยนแปลง - เพิ่มเติมได้ตามองค์ความรู้)
1. กลุ่มสารไตรเทอร์ปินนอยด์ชนิดชม (Bitter Triterpenoids)
เป็นสารรสขมซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ดอกและก้าน จัดเป็นโอสถสารกลุ่มใหญ่ที่สุดในเห็ดหลินจือ คือมีอยู่ราว 100 ชนิด ใช้ในการรักษาโรคภูมิแพ้ (ยับยั้งการหลั่งของสารฮิสตามีน ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดปฎิกิริยาภูมิแพ้) ลดความดันโลหิต ลดไขมันอุดตันในเส้นเลือด ต้านทานสารพิษที่มีผลเสียต่อตับ ยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในตับ สารสำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ กรดกาโนเดอรคิ และกรดลูซิเดนิค
ปัจจุบัน มีการผลิดยาสมุนไพรจากเห็ดหลินจือ เพื่อใช้เป็นยาบำรุงตับอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นโรคตับแข็ง ตับอักเสบและผู้ที่ชอบดื่มสุรา ทั้งนี้ ได้มีการจดสิทธิบัตรสารไตรเทอร์ปินนอยด์แฟรกชั่นจากเห็ดหลืนจือ เพื่อใช้เป็นยาลดความดันโลหิต รวมทั้งสิทธิบัตรสารกาโนโดสเตอโรน เพื่อใช้ผลิตเป็นยาเม็ด กระตุ้นการทำงานของตับด้วย
โอสถสารรสชาติขมในกลุ่มนี้ เคยได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นตัวยาสำคัญที่ใช้ในการรักษาโรค แต่จากการค้นคว้าอย่างละเอียดกลับพบว่ายังมีสารอื่นๆ อีกหลายชนิดที่แม้จะปราศจากรสขม แต่ก็ให้สรรพคุณทางยาที่สำคัญไม่แพ้กัน
2. สเตอรอยด์ (Steroids) เรียกได้ว่าเป็น "สเตอรอยด์ธรรมชาติ" หรือ "สเตอรอยด์พันธุ์ดี" ที่มีอยู่ในพืช แตกต่างจากสเตอรอยด์พันธุ์สักงเคราะห์ฝีมือมุนษย์ ซี่งคิดภาพลักษณ์ของความเป็นผู้ร้ายมาเสียมากกว่า
สารสำคัญในกลุ่มนี้ที่สามารถพบได้ในเห็ดหลินจือรวมทั้งเห็ดหรือราทั่วไป คือเออร์โกสเตอรอลหรือโปรวิตามินดี 2 ซึ่งร่างกายจะเก็บสะสมไว้ใต้ผิวหนัง เมื่อได้รับรังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงแดดก็จะสังเคราะห์เป็นวิตามินดี ทำหน้าที่ช่วยในการดูดซึมของแคลเซียมฟอสฟอรัสในลำไส้ เสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ป้องกันและรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับกระดูก (โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในช่วงวัยทอง) ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ยังมีสเตอรอยด์บางชนิดที่ตรวจพบในเห็ดหลินจือเท่านั้น คือ กาโนสเตอโรน ซี่งมีฤทธิ์ลดสารพิษที่มีผลต่อตับ ใช้เป็นยากบำรุงตับในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็งหรือตับอักเสบ
3. กลุ่มสารนิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) มีการค้นพบสารอินทรีย์อะดีโนไซน์ในเห็ดหลินจือ ซึ่งทำหน้าที่กักเก็บพลังงานจากการหายใจ พร้อมไว้สำหรับการแตกตัว ก่อให้เกิดพลังงานในระดับสูงเมื่อร่างกายต้องการ
อะดีโนไซน์มีส่วนช่วยในการบรรเทาความเจ็บปวด และมีฤทธิ์เช่นเดียวกับกัวโนไซน์ (นิวคลีโอไทด์อีกชนิด) ในการยับยั้งการรวมกลุ่มกันของเกร็ดเลือด อันหมายถึงประสิทธิภาพในการป้องกันการอุดตันของลิ่มเลือดภายในเส้นเลือด บรรเทาการเกิดโรคอัมพาตและอัมพฤกษ์
นอกจากนี้ยังมีการค้นพบสารอัลคาลอยด์ที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ลดอัตราการใช้ก๊าซออกซิเจนกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้หัวใจมีภาวะความทนทานต่อการขาดออกซิเจนได้เป็นเวลานานอีกทั้งยังมีการค้นพบสารสำคัญอื่นๆ ในกลุ่มนี้ที่มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสได้ดีอีกด้วย
4. สารประกอบเยอร์มาเนียม (Germanium, Gc contents)
เราสามารถพบธาตุแข็งที่ชื่อเยอร์มาเนียมได้ในโสม กระเทียม แต่ะจะพบได้มากเป็นพิเศษในเห็ดหลินจือ ซึ่งถ้าเปรียบเทียบกับโดยอัตราส่วนน้ำหนักต่อน้ำหนักแล้ว จะพบว่าภายในเห็ดหลินจือมีเยอร์มาเนียมเป็นส่วนประกอบอยู่มากกว่าโสมราว 6 เท่าเลยทีเดียว สรรพคุณของสารประกอบเยอร์มาเนียม คือ การสร้างระบบการทำงานของร่างกายให้ทำงานร่วมกันได้อย่างสอดคล้อง กำจัดสารพิษและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย
ปัจจุบัน มีการนำมาใช้ร่วมกันกับยาแผนปัจจุบัน เพื่อกำจัดพิษทุเลาความเจ็บปวดในการรักษาผู้ป่วนโรคมะเร็ง
5. กลุ่มสารโพลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) สารกลุ่มนี้มีหลายชนิดที่ให้สรรพคุณทางยา อาทิ การโนเดอแรนส์ ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยการเพิ่มปริมาณสารอินซูลินที่ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำตาลให้เหมาะสม จึงช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
เบต้าดีกลูแคนและพอลิแซ็กคาไรด์ (หลายชนิด) ทำงานร่วมกันในการเพิ่มอัตราการสังเคราะห์โปรตีนในเลือด ไขกระดูก และตับ ลดภาวะการอักเสบ กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวชนิดบีเซลล์และทีเซลล์ อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เห็ดหลินจือมีประสิทธิภาพในการเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ลดภาวะแทรกซ้อนจากการทำเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็งได้
นอกจากนี้ยังมีสารกึ่งเซลลูโลส ซึ่งเป็นอาหารประเภทมีกากที่ช่วยลดอันตราการเกิดมะเร็ง และพอลิแซ็กคาไรด์บางชนิด ช่วยเพิ่มความแรงในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ
นอกเหนือจากสารสำคัญ 5 กลุ่มดังที่กล่าวมาแล้ว เห็ดหลินจือยังมีสารและองค์ประกอบอื่นๆ อีก ที่ไม่อาจถูกจัดเข้าสู่กลุ่มใด อาทิ สารที่มีฤทธิ์ต้านทานความพิการของทารกในครรถ์ สารที่มีคุณสมบัติเป็นยาปฏิชีวนะทำหน้าที่ย่อยสลายเชื้อแบคทีเรีย สารที่ช่วยระงับอาการไอ ขับเสมหะ รวมถึงสารที่มีคุณสมบัติเด่นในการชะลอความชรา
จะเห็นได้ว่าสรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือมีมากมายหลายประการ เปรียบได้ดั่งยาครอบจักรวาล ทั้งในด้านการป้องกันและบำบัดรักษา สิ่งนี้เองคือเหตุผลสำคัญในการดำรงอยู่ของเห็ดหลินจือ ในฐานะสมุนไพรสำคัญในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนตะวันออกที่สืบทอดกันมาเนิ่นนานนับพันปี
หายป่วย ด้วยเห็ดหลินจือ
นายแพทย์บรรเจิด ตันติวิท แพทย์แผนปัจจุบันผู้เขียนหนังสือ "หลิงจือกับข้าพเจ้า" เป็นผู้หนึ่งซึ่งตัดสินใจรับประทานเห็ดหลินจือ ภายหลังจากที่ได้ศึกษาค้นคว้าจนเกิดความมั่นใจในสรรพคุณทางยาและการปราศจากพิษ
"เมื่อตัดสินใจทานหลิงจือ ผมคิดเพียงว่าจะให้มันช่วยบำรุงสุขภาพเท่านั้น ไม่เคยคิดจะให้รักษาโรคหรืออาการของผมเลย โดยปกติแล้ว ยาบำรุงต่างๆ เมื่อทานเข้าไป ผลที่ได้จะไม่สามารถมองเห็ฯได้อย่างชัดเจน อย่างน้อยก็ไม่รวดเร็วทันตาเหมือนยารักษาโรค แต่สิ่งที่ทำให้ผมประหลาดใจมากภายหลังการทานเห็ดหลิงจือ คือ อาการหลายอย่างที่เป็นมานานหลายสิบปี เช่น มือสั่นหรือกัดปากตัวเองหายไป ต่อมน้ำเหลืองหลังต้นคอด้านขวาที่เคยอักเสบหดเล็กลงจนเกือบคลำไม่พบ"
นายแพทย์บรรเจิดแสดงทรรศนะในเรื่องดังกล่าวว่า
อาการมือสั่นมีหลายชนิด เกิดจากสาเหตุต่างๆ กัน ทั้งที่เป็นโรคและมิใช่โรค อีกทั้งยังมีสารบางชนิดที่ทำให้มือสั่นได้ อาทิ อดรีนาลีน (Adrenaline) เป็นต้น
สำหรับอาการมือสั่นของนายแพทย์วัย 74 ปี เป็นชนิดที่เรียกว่า "Familial Tremor" ซึ่งนับเป็นโรคกรรมพันธุ์ น้องและลูกทั้ง 4 คน (จากทั้งหมด 5 คน) ก็มีอาการเช่นกัน "อาการนี้จะเป็นมากเมื่อหิวหรือตื่นเต้นบางครั้งเป็นหนักถึงขั้นทำให้ผมเขิน เพราะขณะที่ยื่นมือไปตักแกง มือผมสั่นจนแกงหกต่อหน้าต่อตาแขกร่วมโต๊ะ"
แต่หลังจากเริ่มทานเห็ดหลินจือไประยะหนึ่ง อาการดังกล่าวก็หายไป
"อาการมือสั่นของผม คิดว่าคงเกี่ยวข้องกับอดรีนาลีน สารชนิดนี้จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจและทำให้กล้ามเนื้อเกิดความตื่นตัวสูง (เช่นเดียวกับ ยาบ้า ก็คือสารประเภทนี้นี่เอง) ซึ่งร่างกายของผมอาจมีแนวโน้มในการผลิตสารนี้มากไป"
แล้วเห็ดหลินจือเข้าไปทำอะไร จนทำให้อาการมือสั่นหายไปได้
"เป็นที่ยอมรับว่าเห็ดหลินจือมีผลทางการระงับประสาท อาจเป็นสารชนิดเดียวกับที่พบในชาจีน คือ ธีแอนิน (Theanine) ซึ่งให้ผลตรงข้ามกับคาแฟอีนที่ทำให้ประสาทตื่นตัวและเกิดการเสพติด"
"รวมทั้งสรรพคุณเห็ดหลินจือด้านการควบคุมการทำงานของสมอง ประสาท และกล้ามเนื้อ ทำให้อาการกัดปากตัวเองเป็นประจำของผมหายไป โรคพาร์กินสัน ซึ่งเกิดจากการประสานงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง เห็ดหลินจือก็น่าจะช่วยได้"
อีกกรณี คือ ต่อมน้ำเหลืองหลังต้นคอด้านขวาที่เคยอักเสบ หดเล็กลงจนเกือบคลำไม่พบ นายแพทย์บรรเจิดไขข้อข้องใจให้ดังนี้
"เป็นเรื่องน่ายินดีที่ต่อมน้ำเหลืองหลังต้นคอด้านขวา ซึ่งเป็นมาตั้งแต่ยังเรียนหนังสือได้หดเล็กลง ปกติแล้ว ต่อมน้ำเหลืองเมื่อเกิดการอักเสบ หลังจากหายจะมีเส้นใย "Fibrous Tissue" มาแทนที่ทำให้เกิดเป็นเต้าแข็ง เส้นใยนี้เมื่อมีขึ้นแล้วจะคงอยู่อย่างถาวร ยิ่งนานวันก็ยิ่งแข็ง"
"การที่เห็ดหลินจือทำให้ต่อมน้ำเหลืองของผม ซึ่งแต่เดิมเคยมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร หดเล็กลงจนเกือบคลำไม่พบได้นั้น น่าจะมีความหมายในทางการแพทย์ ซี่งผมได้ตั้งเป็นทฤษฎี (ความเห็น) ที่ชื่อ "ทฤษฎีใยแผลเป็น" ขึ้นมา"
ทฤษฎีใยแผลเป็นของคุณหมอ กล่าวถึงการที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะใดๆ (ทั้งภายในและภายนอก) เมื่อถูกทำลายจากการบาดเจ็บ อักเสบ หรือสารพิษแล้ว หลังจากได้รับการบำบัดซ่อมแซมด้วยเส้นใยใหม่ (เป็นกรรมวิธีตามธรรมชาติของร่างกาย) จะก่อใหเกิดแผลเป็นขึ้นมา บางครั้ง "ใยแผลเป็น" นี้เองที่สร้างปัญหาในการทำงาน (เช่น ไปเหนี่ยวรั้ง ดึง เบียด ให้เนื้อเยื่อเสียรูปทรง) ขณะที่เห็ดหลินจือสามารถละลายเส้นในให้กลายเป็นใยแผลที่อ่อนนิ่มและหดตัวเล็กลงได้
"ผมคิดว่าสารสเตอรอยด์ธรรมชาติในเห็ดหลินจือมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดผลเช่นนี้ เช่นเดียวกับสเตอรอยด์สังเคราะห์ในยาแผนตะวันตกที่ผมเคยใช้รักษาแผลเป็น (ที่โตผิดปกติ) บนผิวหนัง เมื่อฉีดสเตรอยด์สังเคราะห์เข้าไป แผลเป็นจะนิ่มลงและหดตัว สรรพคุณนี้ทำให้เห็ดหลินจือมีคุณประโยชน์มาก โรคทั้งหลายที่มีใยแผลเป็นต้นเหตุ หรือต้องการหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลเป็นมากเกินไป เห็ดหลินจือน่าจะช่วยได้"
โรคอื่นๆ ที่เห็ดหลินจือ ช่วยรักษาได้
นอกจากผลลัพธ์ในการใช้เห็ดหลินจือ ซึ่งนายแพทย์บรรเจิด ตันติวิท ได้ประสบพบพานกับตนเองโดยตรงแล้ว ยังมีข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกหลายประการด้วยกัน อาทิ ทฤษฎี(ความเห็น) เกี่ยวกับกลไกการทำงานของเห็ดหลินจือ (นอกเหนือจากทฤษฎีใยแผลเป็น ยังมีทฤษฎีขับพิษ ทฤษฎีเกร็ดเลือด ทฤษฎีประหยัดออกซิเจน ฯลฯ หาอ่านเพิ่มเติมได้ในหนังสือ "หลินจือกับข้าพเจ้า" นอกจากนี้ยังมีกรณีศึกษาเกี่ยวกับโรคที่ใช้เห็นหลินจือช่วยได้อีกด้วย
  • มะเร็ง
ผู้ป่วยรายหนึ่งเป็นมะเร็งสมอง แพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา ได้ให้การรักษาด้วยวิธีมาตรฐาน คือ ผ่าตัด ฉายแสง และคีโม หลังจากมีอาการดีขี้นราวหนึ่งปี มะเร็งร้ายก็กลับมาอีกครั้ง ในครั้งนี้แพทย์ต้องตัดสินใจหยุดการให้คีโมหลังทำการรักษาเพียง 2 ครั้ง เนื่องจากฤทธิ์ของคีโมไปทำลายระบบหายใจ พร้อมกันนั้นได้แจ้งกับพ่อแม่ให้ทราบว่าบุตรชายของตนอาจมีอายุต่อได้อีกไม่กี่สัปดาห์
แต่หลังจากตัดสินใจทานเห็ดหลินจือ ภายใต้เงื่อนไข 2 ประการ คือ ต้องเป็นหลินจือที่มีคุณภาพสูง และต้องทานวันละ 20 แคปซูล เมื่อผ่านพ้นไป 3 ปี คนไข้รายนี้ก้อยังมีชีวิตอยู่ได้
อาจกล่าวได้ว่า เห็ดหลินจือช่วยทำให้เซลล์มะเร็งหยุดการเจริญเติบโต หรือในผู้ป่วยบางราย มะเร็งาอาจหดหายไปเลยทีเดียว โดยทุกรายที่ทานเพื่อรักษามะเร็งนั้นจะต้องทานเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้ระดับที่ต้องการ อาจมากถึงวันละ 60 แคปซูล หรืออย่างน้อยก็ต้องเกิน 20 แคปซูล
  • ตับแข็ง
ผู้กว้างขวางในสังคมปีนังรายหนึ่ง ป่วยด้วยโรคตับแข็งจากการดื่มเหล้า แม้แต่ยาบำรุงตับ Essential ก็มิอาจช่วยได้ โชคยังดีที่ผู้ป่วยรายนี้ได้ทำความรู้จักกับเห็ดหลินจือ
หลังจากการปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญโดยการทานวันละ 4 แคปซูล เมื่อผ่านพ้นไป 7 วัน อาการหัวเข่าอักเสบ มีน้ำบวนทั้ง 2 ข้างซึ่งเป็นโรคประจำตัวอีกอย่างหนึ่งก้อหายไป พร้อมทั้งสังเกตเห็นว่า อาการตับของเขาดีขี้นด้วย ผู้ป่วยรายเดิมตัดสินใจทานเห็ดหลินจือต่อไป วันละ 6 แคปซูล ช่วยให้อาการตับแข็งของเขาดีขึ้นเรื่อยๆ และสามารถหายเป็นปกติได้ในเวลา 6 เดือน
เห็ดหลินจือมีสรรพคุณอย่างน้อย 3 ประการด้วยกันที่ช่วยรักษาโรคตับแข็งได้ คือ หนึ่ง ช่วยขจัดสารอนุมูลอิสระ (Face Radical) หรือโมเลกุลที่ไม่มีเสถียรภาพอันเกิดจากการใช้ออกซิเจนเป็นเชื้อเพลิง สอง ช่วยทำให้ใยแผลเป็นอ่อนนิ่ม คลายตัว ไม่รัดเส้นเลือดและเนื้อเยื่อของตับ สาม ช่วยกระตุ้นให้ตับเกิดการสร้างเซลล์ใหม่
  • ภูมิเพี้ยน
ตัวอย่างของโรคในกลุ่มนี้ที่รู้จักดีคือโรค SLE หรือโรคพุ่มพวงนั่นเอง เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่เคยทำหน้าที่ขจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย หันกลับมาทำร้ายเนื้อเยื่อของเราเอง
ผู้ป่วยชายเยอรมัะนรายหนึ่ง อายุ 66 ปี ป่วยด้วยโรคนี้ และมีอาการท้องเสียบ่อยและถ่ายออกมาเป็นเลือดแพทย์ผู้เชี่ยวชาญพยายามรักษาด้วยยาต่างๆ บางครั้งก็ใช้สเตอรอยด์แต่ไม่ได้ผล ในที่สุดแพทย์แนะนำให้ทำการผ่าตัด แต่ผู้ป่วยปฎิเสธเนื่องจากต้องการเข้ารับการรักษาโดยการแพทย์ทางเลือก และแล้ว... หลังจากทานหลินจือได้ 1 เดือน อาการท้องเสียของเขาก็หายไป ก่อนจะหายเป็นปกติใน 10 เดือน
ในเห็ดหลินจือมีโปรตีนชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า "Lz-8" โปรตีนนี้มีคุณสมบัติปรับภูมิเพี้ยนให้กลายเป็นปกติได้ อีกทั้งยังมีสเตอรอยด์ธรรมชาติที่คงจะมีส่วนช่วยด้วยเช่นกัน เช่นเดียวกับการรักษาโรคภูมิเพี้ยนอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกัน เช่น SLE รูมาดอยด์
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ผู้ป่วยรายหนึ่งอายุ 50 ปี (เป็นเบาหวานมานาน 10 ปี) นอกเหนือจากยารักษาเบาหวานแล้ว ผู้ป่วยรายนี้ยังรับยาตามศาสตร์การแพทย์ทางเลือก ประกอบด้วยวิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ รวมทั้งเห็ดหลินจือ
ผู้ป่วยรายเดียวกันเปิดเผยให้ทราบว่า หลังจากทานเห็ดหลืนจือแล้วความต้องการทางเพศของเขาสูงขึ้นอย่างมาก จากเดิมเคยมีเพศสัมพันธ์สัปดาห์ละ 1 ครั้งเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นสัปดาห์ละ 5 ครั้ง และต้องปรึกษาแพทย์ว่ามาเกินไปหรือไม่
  • แก้ภูมิแพ้
คุณโสภา ประภัสสราวุธ วัย 55 ปี ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แคปซูลสกัดจากเห็ดหลินจือมานาน เล่าประสบการณ์ใช้เห็ดหลินจือของตนให้ฟังว่า "นับจากอายุ 20 ปีเป็นต้นมา ตนเองมีปัญหาด้านสุขภาพมาโดยตลอด โดยมีโรคที่เป็นหนักอยู่ในตอนนี้คือภูมิแพ้ ท้งแพ้อากาศ อาหาร ความเย็น ความร้อน รวมถึงควันพิษ เมื่อมีอาการครั้งใดก็จะรู้สึกอัดอัดจนหายใจไม่ออก แสบตาจนน้ำตาไหล หลายครั้งถึงขนาดต้องรีบเดินทางไปพบแพทย์เพื่อนำสายออกซิเจนเข้าครอบจมูก"
"หลังจากทานสารสกัดเห็ดหลินจือติดต่อกัน อาการก็เริ่มดีขึ้น รู้สีกได้ถึงการไหลเวียนของเลือด ความสมดุลในร่างกาย หายใจโล่งขึ้น เลิกงานดึกก้อสามารถาอาบน้ำเย็นได้ จากที่ครั้งหนึ่งเคยเข้ารับการผ่าตัดจนรู้สึกเหมือนมีเข็มทิ่งแทงที่ปอดอยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันอาการดีขึ้นมาก ยาเคมีทั้งหลายมีเคยทานและฉีดเข้าร่างการเป็นประจำจนรู้สึกปวดกระดูก ปวดฟัน ฟันหัก ผิวเสีย เป็นภูมิแพ้ ก็ไม่จำเป็นอีกต่อไป โดยที่ยังมีการตรวจเช็คร่างกายที่โรงพยาบาลอยู่เสมอ ซึ่งแพทย์ก็บอกว่าเป็นปกติดี"
  • บำรุงหัวใจ
ยิ่งไปกว่านั้น คุณประโยชน์ที่ได้รับกับคุณแม่ของคุณโสภาวัย 80 ปี ก็ชัดเจนไม่แพ้กัน
"คุณแม่ท่านป่วยด้วยโรคหัวใจ หมอให้ยารักษาจนตัวบวมไปหมด สุดท้ายแล้วก็แนะนำให้ทำบาสพาส (การผ่าตัดรักษาโรคหัวใจวิธีหนึ่ง) เราเองเคยเห็นผู้ป่วยที่มีอายุไล่เลี่ยกับคุณแม่ผ่าตัดได้ไม่นานก็เสียชีวิตเนื่องจากร่างกายทนแบกรับภาระหลังการผ่าตัดไม่ไหว จึงไม่เห็นด้วยกับวิธีดังกล่าว และเริ่มต้นให้ท่านทานสารสกัดจากเห็ดหลินจือ"
"จากที่เริ่มต้นทานเพียงคราวละ 1 แคปซูล (เพราะเกิดความอ่อนเพลีย ทรงตัวลำบาก เสียงหาย) ภายหลังร่างกายของท่านก็เริ่มปรับตัว สามารถรับยาได้ จึงค่อยเพิ่มปริมาณให้ ปัจจุบันท่านแข็งแรงดี มีชีวิตที่เป็นปกติได้โดยไม่ต้องผ่าตัดหัวใจบายพาส" คุณโสภากล่าว เธอใช้ผลิตภัณฑ์สารสกัดจากเห็ดหลินจือยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งมีส่วนผสมของเห็ดหลินจือ 6 สายพันธุ์ ได้แก่ จินซัน ยูอี และสายพันธุ์ที่มีลักษณะรูปร่างคล้ายปากหัวใจ สมอง และหางนกยูงรำแพน
บริโภคอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
แม้เราจะไม่สามารถนำเห็ดหลินจือมาปรุงเป็นอาหารรับประทานได้โดยตรง เนื่องจากคุณลักษณะตามธรรมชาติขชองเนื้อเห็ดที่คงความแข็งเหนียว และขม ดังคำกล่าวของอาจารย์มงคลศิลป์ บุญเย็น ผู้เชี่ยวชาญ การปรุงยาสมุนไพรท่ว่า "หากผู้ใดต้องการใช้มีสับเห็ดหลินจือให้ขาด ก้อจำเป็นต้องนำเห็ดไปแช่น้ำนานสองวันสองคืนเสียก่อน หรือถ้าจะนำเห็ดชนิดนี้ไปต้ม เนื้อเห็ดที่ได้กลับยิ่งทวีความแข็ง และเหนียวจนเหมือนยางแตกต่างจากเห็นชนิดอื่นที่นิยมนำมาประกอบอาหารอย่างเห็นได้ชัด"
แต่ก็ยังมีผู้สนใจศีกษาค้นคว้าหาคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดหลินจือ (นอกเหนือจากโอสถสารหรือสารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางยา) ซึ่งก็พบว่า ภายในเห็ดหลินจือมี่สารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการไม่แตกต่างไปจากผลิตภัณฑ์ประเภทเสริมอาหารหรือวิตามินรวมแต่อย่างใดเลย
หนึ่งในนั้นเป็นผลงานวิจัยของสถาบันวิจัยโครงสร้างสารแห่งประเทศจีน ณ มณฑลฟูโจว ที่ให้การยืนยันว่า โปรตีนที่พบในเห็ดหลินจือจัดเป็นโปรตินชนิดสมบูรณ์ ได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์ขององค์การอาหารและการเกษตร (FAQ) ไม่ว่าจะเป็น ไอโซลิวซีน ฟีนิลอะลานีน ทริปโตแฟน ฯลฯ แม้แต่ฮีสพีดีน กรดอะมิโนที่มีความสำคัญสำหรับเด็กก็ยังพบได้ในเห็ดหลินจือ นอกจากนี้ ยังอุดมด้วยเกลือแร่ และวินามินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี1 บี2 ดี โคลีน ไนอาซีน อินโนซิทอล
สำหรับปริมาณการบริโภคเห็ดหลินจือ ควรคำนึงถึงจุดประสงค์ว่า ต้องการบริโภคเพื่อรักษาโรคหรือเพื่อบำรุงร่างกายเท่านั้น โดยมีวิธีการบริโภคที่ได้รับความนิยม 3 รูปแบบ คือ
1. รูปแบบยากต้มหรือยาดอง
2. รูปแบบยาสกัดบรรจุแคปซูล
3. รูปแบบยาบดบรรจุแคปซูบ
คุณสมศักดิ์ ชินกร ผู้คลุกคลีกับวงการแพทย์ทางเลือก ธรรมชาติบำบัด และวิจัยเรื่องเห็ดสมุนไพรมานานกว่า 10 ปี ได้ให้ความรู้ไว้ในหนังสือ "เห็ดหลินจือกับการรักษาโรค" ว่า "ทั้ง 3 รูปแบบนี้ การทานเห็ดหลินจือที่ได้ประโยชน์ทางยาน้อยที่สุด คือ การทานยาบดบรรจุแคปซูลเนื่องจากภายในกระเพาะของคนเราไม่สามารถสกัดเอาตัวยาจากเห็ดหลินจือออกมาได้ทั้งหมด จึงเปรียบเสมือนกับการทานขี้เลื่อยหรือไม้หมดจีนโบราณก้ไม่สนับสนุนการทานด้วยวิธีนี้เช่นกัน แต่จะใช้วิธีการต้มหรือดองเหล้า"
ส่วนการทานเห็ดหลินจือสกัดบรรจุแคปซูลจะให้ประโยชน์สูงกว่าการทานเห็ดหลินจือบดบรรจุแคปซูล เนื่องจากมีความเข้มของตัวยามากกว่า
"สมุนไพรสกัด หมายถึง การนำเอาตัวยาของสมุนไพรออกมา แล้วคิดเอากากของสมุนไพรทิ้งไป ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราต้องการทานวิตามินซีวันละ 500 มิลลิกรัม เราอาจจำเป็นต้องทานมะนาววันละ 50 ลูก แต่ 500 มิลลิกรัมเช่นกัน การทานเห็ดหลินจือชนิดที่เป็นยาสกัด จึงให้ผลดีกว่าการทานเห็ดหลินจือที่เป็นแบบบด" คุณสมศักดิ์กล่าว
การเลือกซื้อเห็ดหลินจือชนิดแคปซูล จึงขอแนะนำรูปแบบของยาสกัด ซึ่งมีวิธีการสังเกตและพิสูจน์ ดังนี้
1. วิธีสังเกต ให้ดูที่ฉลากยาข้างขวด ต้องมีการระบุคำว่า "ยาสกัด" ถ้าไม่มีให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นยาบด
2. วิธีพิสูจน์ ทำได้โดยการถอดปลอกแคปซูลออก เทผงยาลงในน้ำร้อน แล้วใช้ช้อนคน หากเป็นยาสกัดจริงจะต้องละลายน้ำได้หมดไม่เหลือกากให้เห็น แต่ถ้าเป็นยาบดจะมีการตกตะกอนให้เห็นเป็นกากมีลักษณะคล้ายขี้เลื่อย ซึ่งประเภทนี้จะให้ประโยชน์ทางยาน้อยมาก
"วิธีนี้เป็นวิธีทดสอบสารสกัดจากเห็ดหลินจือที่ง่ายที่สุด คือ พิจารณาจากสี กลิ่น รส ที่ได้จากการละลายน้ำ กล่าวคือ สีต้องเข้ม รสต้องขม กลิ่นต้องเป็นเอกลักษณ์ หากนำสารสกัดในแคปซูลแต่ละยี่ห้อมาเปรียบเทียบกันด้วยการละลายน้ำ จะสามารถค้นพบความแตกต่างได้ อย่างชัดเจนเลยทีเดียว" อาจารย์มงคลศิลป์ ให้ข้อมูล
ขณะที่การต้มน้ำเห็ดหลินจือดื่มด้วยตนเองก็สามารถทำได้ โดยการนำเห็ดหลินจือราว 20 กรัม (ประมาณ 20 ชิ้น ที่ผ่านการหั่นแล้ว) มาต้มกับน้ำ 2 ลิตรจนเดือด หรี่ไฟลงแล้ว "เคี่ยว" ต่อไปอีกประมาณ 10 นาที (อาจเติมน้ำตาลลงไปเล็กน้อยเพื่อแต่งรสหวาน) สามารถใช้ดื่มต่างน้ำได้ ทั้งนี้ เภสัชกรไทยได้วิจัยและพัฒนาเห็ดหลินจือเป็นเครื่องดื่มกระป๋องและยาชงมานานเกือบ 10 ปีแล้ว
ความนิยมในเห็ดหลินจือคงไม่มีวันสิ้นสุดลงง่ายๆ ตราบเท่าที่คุณค่าและสรรพคุณการบำบัดรักษาโรคสามารถพิสูจน์ได้จริง และช่วยให้ผู้ป่วยหลายรายหายจากโรคร้ายมานักต่อนักแล้ว สมุนไพรชนิดอื่นก็เช่นกัน หากไม่ได้รักการกีดกัน รังเกียจ หันหน้ามาทำการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง เฉกเช่นเดียวกับที่ได้ปฎิบัติต่อ "เห็ดหลินจือ สมุนไพรหมื่นปี" ก็จะเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ไม่น้อยเลยทีเดียว


ที่มา :Ganothai.com and kholyherb.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น