วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ฝาง



ฝาง (ฝางเสน, ฝางส้ม, ง้าย, หนามโค้ว, ขวาง, โซบั้ก) หรือ Sappan Tree มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia sappan Linn. จัดเป็นพืชในวงศ์ Leguminosae ส่วนที่ใช้เป็นยาคือ เนื้อไม้และแก่น
แก่นฝาง (Sappan wood) มีสารสีชมพูส้มถึงแดง (ขึ้นกับปริมาณ) ชื่อ Brazilin แก่น ฝางมีรสขื่นขม ฝาด ใช้ต้มน้ำกินเป็นยาบำรุงโลหิตสตรี แก้ปอดพิการ ขับหนอง ขับเสมหะ ทำโลหิตให้เย็น แก้โรคหืด แพทย์ชนบทใช้ต้มน้ำกินแก้อาการท้องร่วง ธาตุพิการ ร้อนใน แก้โลหิตออกทางทวารหนักและทวารเบา
เนื้อไม้ใช้แก้ท้องเสีย แก้บิด ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ แก้ไข้ รักษาโรคทั่วไป

นอกจากนี้ส่วนเปลือก ลำต้นและเนื้อไม้สามารถใช้ต้มรับประทานรักษาวัณโรค ท้องเสียและอาการอักเสบในลำไส้ เป็นยาฝาดสมานและรักษาแผล
จากข้อมูลรายงานการทดลองต่างๆ ที่มีอยู่ไม่พบข้อมูลการยับยั้งเชือ้ MRSA ของฝาง ทราบแต่เพียงว่าสาร Brazilin ในแก่นฝางที่กล่าวถึงข้างต้นนั้น เมื่อผ่านการต้ม สาร Brazilin จะเปลี่ยนเป็นสาร Brazilein ซึ่งมีสีแดงซึ่งสมัยก่อนใช้ในการย้อมผ้า แต่งสีขนมและทำน้ำยาอุทัย
คุณสมบัติทางยาของเนื้อไม้และเปลือกไม้ฝางเกิดจากกลุ่มของสาร phenol ที่มีชื่อเรียกว่า homoisoflavonoids ลำต้นและใบมีสาร alkaloid และ phytosterol อยู่ในปริมาณมาก
ปัจจุบันมีรายงานการทดลองของสารทั้ง Brazilin และ Brazilein ดังนี้
- แก้อักเสบ: สาร Brazilin ที่สกัดได้จากแก่นฝางมีฤทธิ์ระงับการอักเสบได้ดี การที่ฝางเสนมีสารระงับการอักเสบนี้อยู่จึงทำให้มีผลระงับอาการหอบหืดได้ด้วย
- ระงับเชื้อโรค: การนำพืชที่มีสาร Brazilin (รวมทั้งฝางเสน) มาแช่ในแอลกอฮอล์จะทำให้ได้น้ำยาสกัดแอลกอฮอล์ที่มีสาร Brazilin ละลายอยู่ น้ำยานี้สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดไข้สูง โรคท้องร่วงระบาด เชื้อStaphylococcus ได้ นอกจากนี้ในแก่นฝางยังพบว่ามีสารอีกชนิดหนึ่งที่ระงับเชื้อโรคได้เช่นกันคือสาร Sappanin
- แก้ท้องเสีย: แก่นและเปลือกฝางเสนมีสาร Tannin อยู่มากโดยเฉพาะส่วนเปลือกฝางจึงใช้ต้มกินแก้ท้องเสียหรือบิดอย่างอ่อนได้
- ป้องกันหืด: สาร Brazilein สามารถยับยั้งไม่ให้ร่างกายสร้างสารHistamine ได้ จึงน่าจะช่วยป้องกันโรคหืดได้
ฤทธิ์ ทางเภสัชวิทยาของฝางนอกจากต้านเชื้อแบคทีเรียแ
ล้ว ยังสามารถต้านเชื้อรา ไวรัส ยีสต์ ลดการอักเสบ ยับยั้งเนื้องอก กระตุ้นภูมิคุ้มกันและยั้บยั้งการแพ้ได้ด้วย

ฝางเป็นยาเย็น ทำน้ำฝางดื่มในหน้าร้อน ดีกว่าดื่มน้ำอัดลมหรือน้ำชาเขียวอีก น้ำฝางทำไม่ยากเลย แค่นำเอาเนื้อไม้ฝางที่ตากจนแห้งแล้วมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลนิดหน่อย ใส่ใบเตยเล็กน้อย แค่นี้ก็จะได้น้ำฝางสีแดงสวยงามมากด้วยคุณค่า

ที่มา : www.phurhu.com


วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554

อาหารเมื่อความดันโลหิตสูง

เมื่อความดันโลหิตสูง ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิต ดังนี้
1. ลดน้ำหนักตัวลงมา บางครั้งเพียงจำกัดอาหาร ควบคุทให้น้ำหนักลดลงเท่านั้น ความดันที่สูงก็กลับลงเป็นปกติได้

2. งดดื่มแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ทำให้ความดันขึ้นสูงและทำให้อ้วนในเวลาเดียวกัน

3. ออกกำลังกายแบบแอโรบิกสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน และในแต่ละครั้งต้องนาน 30 นาทีขึ้นไป จะเลือกเดินเร็ว วิ่ง เต้นแอโรบิก ว่ายน้ำ การออกกำลังกายจะทำให้คลายเครียด ทำให้ความดันลดลง และยังเพิ่ม HDL ซึ่งช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งจะเกิดหลังความดันสูง

4. ลดการกินเค็ม งดของหมักดอง เพราะโซเดียมเวลาเข้าสู่ร่างกาย จะอุ้มน้ำเอาไว้เสมอ เมื่อมีโซเดียมในร่างกายมาก จะทำให้เกิดน้ำคั่งในร่างกาย เมื่อร่างกายมีน้ำมากความดันก็จะเพิ่มสูงขี้น นอกจากเกลือแล้วโซเดียมยังมีที่มาจากผงชูรส งดการกินใส้กรอก และอาหารที่ใช้ผงฟู

5. ลดไขมันในเลือดเสียด้วย เพราะหากความดันสูงนานๆเส้นเลือดจะแข็งตัวและทำให้แรงกระแทกของเลือดต่อผนังหลอดเลือดที่ไม่ยืดหยุน รุนแรง และเป็นสาเหตุของความดันโลหิตสูง ถ้า
ไขมันในเลือดไม่สูงและต้องการป้องกันตัวเองจากความดันโลหิตสูง ให้งดกินไขมันอิ่มตัว ได้แก่ นมวัว โยเกิต ครีมเทียม กะทิ และอาหารมันๆ เช่น ก้วยจับ ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ฯลฯ
6. งดสูบบุหรี่ อนุมูลอิสระจากบุหรี่สร้างความเสียหายให้กับหลอดเลือด

7. คลายเครียดด้วยงานอดิเรก ความเครียดและอาการนอนไม่หลับจะทำให้ความดันสูงได้ การนวดคลายเครียด ก็เป็นวิธีที่ดี การที่กล้ามเนื้อทั่วร่างกายผ่อนคลายลงทั้งตัว จะทำให้ความดันลดลงได้แทบจะทันทีหลังการนวด

8. หัดทำสมาธิ เพราะสมาธิจะทำให้ใจสงบ มีรายงานว่าสมาธิทำให้ความันลดลงขณะทำสมาธิ ถ้าไม่เก่งเรื่องสมาธิอาจใช้วิธีออกกำลังกายแบบตะวันออกที่ประสานการเคลื่อนไหวของร่างกายเข้ากับลมหายใจในขณะที่ออกกำลังกายทำให้ใจสงบไปพร้อมๆกัน เช่น ชี่กง ไทเก็ก โยคะ ฤาษีดัดตน

9. ใช้สมุนไพรที่มีฤทธิ์ลดความดัน ขับปัสสาวะ และสงบประสาท จะทำให้ความดันลดลงได้ ดังนี้
สมุนไพรลดความดันโลหิต
- ใบหม่อน ใช้ชาใบหม่อนชงน้ำดื่มแทนน้ำ
- ใบบัวบก ใช้ทั้งต้นสดๆ 1 กำมือ คั้นน้ำดื่มวันละ 1 - 2 ครั้ง
- กาฝากมะม่วง ใช้ทั้งกิ่งและใบสด 1 กำมือ ต้มน้ำดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น
สมุนไพรขับปัสสาวะ
- ตะไคร้ ใช้รากและต้น 1 กำมือ ต้นน้ำดื่มบ่อยๆ
- กระเจี๊ยบแดง ต้มน้ำดื่มเป็นชา
- เตยหอม ใช้ทั้งต้นและราก 1 ต้น ต้มดื่มแทนน้ำ
สมุนไพรสงบประสาท
- ดอกไม้จีน ใช้ 15 กรัม ต้มกับน้ำดื่มวันละ 1 หรือ 2 ครั้งก็ได้
- ขี้เหล็ก ใช้ใบเพสลาด มาดองเหล้าโรง 15% 7 วันแล้วกินก่อน
นอนครั้งละ 1 ช้อน
- เมล็ดชุมเห็ดไทย ใช้เมล็ด 1 กำมือ มาคั่ว แล้วต้มน้ำดื่มก่อนนอน



ผัดดอกไม้จีน

เครื่องปรุง ดอกไม้จีนแห้ง 15 กรัม หรือแบบสด 100 กรัม กุ้งแชบ๊วบ 4-5 ตัว น้ำซุปไก่หรือผัก 1 ถ้วยตวง กระเทียมบุบ 2-3 กลีบ น้ำมันพืช
วิธีทำ ใส่น้ำมันลงในกะทะนิดหน่อย ผักกระเทียมก่อน เอาดอกไม้จีนลงผัด เติมน้ำซุป ผัดต่อจนดอกไม้จีนนิ่ม จึงใส่กุ้งพอกุ้งสุกก็ใข้ได้
หมายเหตุ ดอกไม้จีนแห้งปริมาณ 15 กรัม เมื่อนำมาต้มเล็กน้อยหรือกินทั้งหมด จะช่วยสงบประสาท ช่วยทำให้นอนหลับดีขึ้น แนะนำให้กินเมนูนี้เป็นอาหารเย็น จะทำให้พักผ่อนได้ดีกว่าและจะช่วยทำให้ความดันลดลงได้
ข้างผัดพริก
เครื่องปรุง ข้าวกล้อง 1 ทัพพี อกไก่เนื้อล้วน 70 กรัม เม็ดมะม่วงหิมพานต์ 1 ช้อนโต๊ะ พริกบางช้างแหเง 1 เมล็ด กระเทียม 2-3 กลีบ น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ น้ำมันถั่วเหลือง ซีอิ้ว
วิธีทำ ใส่น้ำมันในกระทะนิดหน่อย ใส่กระเทียมผัดพอเหลือง ใส่ไก่ผัดจนสุกปรุงด้วยซีอิ้ว ใส่พริกแห้ง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ลงผัดจนสุก ใส่น้ำมันหอย
หมายเหตุ ข้าวกล้อง และ
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ มีแม็กนีเซียมเสริมความแข็งแรงของหลอดเลือดและหัวใจ ส่วนพริกมีแคบไซวิน ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดสะอาด เป็นการป้องกันหลอดเืลือดอุดตันในตัว

วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ย่านาง........กำลังฮิต

ย่านางนับว่าเป็นผักที่มีประโยชน์อีกชนิดหนึ่ง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ใช้ในการประกอบอาหารพื้นบ้านไทยหลายๆ ตำรับ ในใบย่านางมีวิตามินเอและซีสูง นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ไฟเบอร์ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก ไทอะมีน ไรโบฟลาวิน และไนอะซีน สำหรับสรรพคุณในทางยา ย่านางถือเป็นยาเย็น มีความโดดเด่นด้านการดับพิษและลดไข้ โดยรากใช้แก้ไข้ทุกชนิด เช่น ไข้พิษ ไข้เหนือ ไข้หัด สุกใส ไข้กาฬ ขับกระทุ้งพิษไข้ ถอนพิษผิดสำแดง และแก้เบื่อเมา ส่วนใบและเถา จะใช้แก้ไข้ ลดความร้อน และแก้พิษตานซาง รากย่านางเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของตำรับยาเบญจโลกวิเชียร หรือยา5 ราก หรือแก้วห้าดวง ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศใช้ในบัญชียาจากสมุนไพรที่ มีการใช้ตามองค์ความรู้ดั้งเดิม ร่วมกับรากชิงชี่ รากท้าวยายหม่อม รากคนทา และรากมะเดื่อชุมพร

เมื่อศึกษาถึงองค์ประกอบทางเคมี ในรากย่านางส่วนใหญ่เป็นอัลคาลอยด์ในกลุ่ม isoquinoline ในใบประกอบด้วยสารโพลีแซคคาไรด์ สารโพลีฟีนอล แคลเซียมออกซาเลท และอัลคาลอยด์กลุ่ม isoquinoline สำหรับการศึกษาวิจัยฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของย่านาง ยังมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการทดลองในหลอดทดลองและสัตว์ทดลอง ยังไม่พบรายงานการวิจัยในคน โดยพบว่าย่านางมีฤทธิ์ลดไข้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum แก้ปวด ลดความดันโลหิต ต้านเชื้อจุลชีพ ต้านการแพ้ ลดการหดเกร็งของลำไส้ ต้านการเจิญของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเอนไซม์ acetylcholinesterase และมีฤทธิ์อย่างอ่อนๆ ในการต้านอนุมูลอิสระ

การศึกษาด้านความเป็นพิษในสัตว์ทดลอง พบว่าสารสกัดน้ำจากทั้งต้นและสารสกัด 50% เอทานอลจากใบไม่เป็นพิษต่อหนูแรท แต่การป้อนรากย่านางในขนาดสูง มีความเป็นพิษทำให้สัตว์ทดลองตาย

จะเห็นว่าย่านางเป็นสมุนไพรในครัวเรือนอีกชนิดหนึ่งที่มีประโยชน์ ปัจจุบันมีการแนะนำการใช้น้ำคั้นจากใบย่านางดื่มเพื่อปรับสมดุลของร่างกาย โดยนักวิชาการสาธารณสุขด้านการแพทย์ทางเลือก รวมทั้งมีการรวบรวมประสบการณ์การใช้น้ำคั้นจากใบย่านางในการรักษาโรค เรื้อรังต่างๆ มาเผยแพร่ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของย่านางยังมีไม่มากนัก ยังไม่พบรายงานการศึกษาทางคลินิก รวมทั้งข้อมูลด้านความเป็นพิษในคน ดังนั้นการใช้ย่านางรักษาโรคอื่นๆ นอกเหนือจากแก้ไข้ซึ่งมีประวัติการใช้มาเนิ่นนานแล้ว จึงควรระมัดระวังและมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนการใช้ในการรักษาโรค เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้

เรียบเรียงโดยสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

(http://medplant.mahidol.ac.th)

ขั้นตอนการทำ น้ำใบย่านาง
ล้างทำความสะอาด : นำใบย่านาง.....มาล้างทำความสะอาด เอาสิ่งสกปรกออกเบื้องต้น

คัดเลือก : แล้วนำมาเด็ด เลือกใบสวยๆที่มีคุณภาพ ออกมาจากเถาของย่านาง (ย่านางเป็นไม้เลื้อยนะครับ)

ล้างครั้งที่ 2 : เสร็จแล้วนำเอามาล้างน้ำอย่างสะอาดอีกครั้งครับ

ต้องสะอาดจริง : จากนั้นก็เอามาแช่น้ำอีกครั้ง เพื่อความแน่ใจว่าสะอาดหมดจด

เตรียมน้ำ : ต้มน้ำอุ่น ประมาณ 70 องศา (ไม่ควรเกินกว่านี้ เพราะจะกลายเป็นใบย่านางต้ม)
ที่มีขั้นตอนนี้เพราะจะได้ฆ่าเชื้อโรคและพยาธิ ที่ติดมากับใบย่านาง

จากนั้นเอาใบย่านางไปมาลวก แป๊บเดียวนะครับ เดี๋ยวเสียคุณค่าของคลอโรฟิลล์

คั่นละทีนี้ : จากนั้นเอามาใส่ในน้ำดื่มสะอาด เตรียมคั้นด้วยมือ คั้นแหลก !!!!!!
ขยี้ๆๆๆๆๆๆจนได้น้ำเขียวๆข้นๆ

กรองกาก : จากนั้นนำไปกรองกรองๆๆๆๆๆๆๆ จะได้น้ำเขียว ใส ปิ๊งๆๆๆๆๆ พร้อมดื่ม

กรอกใส่ภาชนะ : ใส่ขวดสวยๆสะอาดๆ........เสร็จสิ้นขั้นตอน

ได้แล้วครับ น้ำใบย่านาง ที่แสนจะหอมสดชื่น ดื่มแล้วเย็น

วันเสาร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2554

แกงเลียง อาหารฤดูฝน พร่ำๆ


แกงเลียง

เครื่องปรุง

1. ฟักทองเนื้อดี หั่นชิ้นพอคำ จำนวน 10-12 ชิ้น

2. บวบเหลี่ยม (หักชิมดูเสียก่อนว่าไม่ขม) ประมาณ 1 ลูก ขนาดพอดี ปอกเปลือกออก แต่ไม่ควรปอกจนเกลี้ยงเกลาให้เหลือเปลือกไว้บ้าง เพื่อรักษาคุณค่าทางอาหาร หั่นเป็นชิ้นขนาดพอคำ ประมาณ 12-15 ชิ้น

3. ข้าวโพดอ่อนหั่นแฉลบ 4 ฝัก

4. กระชาย 2 หัว ทุบเบา ๆ แล้วหั่นเป็นท่อนยาวประมาณ 1 นิ้ว

5. ตำลึงยอดงาม ๆ สัก 10 ยอด เด็ดเอาแต่ใบอ่อน ๆ

6. แมงลัก 3-4 กิ่ง เด็ดเอาแต่ใบหรือยอดดอกอ่อน ๆ

7. กุ้งแม่น้ำ หรือกุ้งชีแฮ้ 6-7 ตัว ปอกเปลือก เอาเส้นดำออก

8. น้ำซุป (จากการต้มซี่โครงหมูหรือโครงไก่) 4 ถ้วยตวง

9. น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ

10. หากชอบเผ็ดเพิ่มพริกขี้หนูสดอีก 5-6 เม็ด บุบพอแตก

เครื่องปรุงพริกแกง

1. พริกชี้ฟ้าแดงผ่าเอาเมล็ดออก 2 เม็ด

2. กระชาย 4 หัว

3. หอมแดงหัวขนาดกลาง 5 หัว

4. พริกไทยขาว 12 เม็ด

5. กะปิเผาไฟพอสุก 2 ขีดครึ่ง

6. กุ้งแห้ง 2 ขีดครึ่ง

วิธีทำ
นำเครื่องปรุงพริกแกงเหล่านี้โขลกให้ละเอียด ถ้าชอบให้น้ำแกงข้นอีกนิดก็ใช้เนื้อปลา จะย่างหรือต้มให้สุกก่อนก็ได้ แล้วนำมาโขลกรวมกันกับพริกแกง นำน้ำซุปตั้งไฟพอเดือด ใส่เครื่องแกงลงไป ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมให้ได้รสเค็มและเผ็ดนิด ๆ พอน้ำแกงเดือดอีกที ใส่ผักชนิดสุกยากลงก่อน เช่น ฟักทอง ข้าวโพด ตามด้วยกุ้ง รอจนแน่ใจว่าผักสุกดีแล้ว ใส่ใบตำลึง และใบแมงลักเป็นรายการสุดท้าย คนให้เข้ากัน ตักเสิร์ฟในขณะร้อน ๆ อร่อยนักแล ผักอาจเปลี่ยนแปลงตามชอบใจเช่นใช้น้ำเต้า ชะอม บวบหอม บวบงู แตงอ่อน ฯลฯ